บุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีเมืองเชียงยืน ขบวนควายแคระเผือกราคา 3 ล้านกว่าบาทสร้างสีสันในงาน

บุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีโชว์ควายเผือกแคระ

บุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีเมืองเชียงยืน ขบวนควายแคระเผือกราคา 3 ล้านกว่าบาทสร้างสีสันในงาน

บุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีเมืองเชียงยืน ขบวนควายแคระเผือกราคา 3 ล้านกว่าบาทสร้างสีสันในงาน

จัดงานบุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีเมืองเชียงยืน ประจำปี 2565 เพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนและผลผลิตการเกษตรของเกษตรกร ขบวนควายแคระเผือกราคา 3 ล้านกว่าบาทสร้างสีสันในงาน

บุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีเมืองเชียงยืน ขบวนควายแคระเผือกราคา 3 ล้านกว่าบาทสร้างสีสันในงาน

ที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีบุญคูณลานสืบสานของดีเมืองเชียงยืน ประจำปี 2565 เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี (บุญเดือนยี่ หรือ บุญคูณลาน )เป็นหนึ่งในฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน ชึ่งมีการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีมาอย่างยาวและอันดีงามให้ดำรงอยู่ และส่งเสริมและพัฒนาผลิตผล ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและการประกอบสัมมาอาชีพของคน กลุ่มคนในพื้นที่ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดขบวนแห่ของดีจากทุกตำบล การออกร้านนิทรรศการของตำบล การแข่งขันและการประกวดผลิตผลทางการเกษตร การประกวดสาวงามเชียงยืน และการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอเชียงยืน

บุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีเมืองเชียงยืน ขบวนควายแคระเผือกราคา 3 ล้านกว่าบาทสร้างสีสันในงาน

ในงานมีการแสดงโชว์พ่อพันธุ์ความแคระเผือกที่มีตัวเดียวในประเทศไทย เจ้าข้าวเหนียว มีความสูง 108 ซม.มีคนมาให้ราคากว่า 3.5 ล้านบาท อายุ 8 ปี จากเอสเคฟาร์ม เชียงยืน ทางฟาร์มยังขายลูกควายแคระดำในราคาตัวละ 1.5 แสนบาท ลูกควายแคระเผือกตัวละ 2.5 แสนบาท  และชมความน่ารักของควายแคระที่นำมาแสดงโชว์ ให้ความแคระคลานเข่า ยิ้ม สวัสดีเป็นที่ฮืออา ภายในงานมาก

บุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีเมืองเชียงยืน ขบวนควายแคระเผือกราคา 3 ล้านกว่าบาทสร้างสีสันในงาน

นายสมพร ควรคำคง นายอำเภอเชียงยืน เปิดเผยว่า อำเภอเชียงยืน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม มีของดีมากมายไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น หลวงปู่ใหญ่ วัดพุทธประดิษฐ์ ในด้านผลิตผลและสินค้า เช่น เสื่อกก ผ้าดำ ปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์มากมายของกลุ่มแม่บ้าน/สตรี และกลุ่มอาชีพต่างๆ ตามโครงการพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียง และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  ซึ่งพี่น้องประชาชนได้น้อมนำมามาเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างรายได้ เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพขึ้นในตำบล หมู่บ้าน จนกลายเป็นของดีเมืองเชียงยืน โดยกำหนดการจัดงาน ตั้งแต่วันที่ 20-26 ธันวาคม 2565   ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

บุญคูณลานสืบสานประเพณีของดีเมืองเชียงยืน ขบวนควายแคระเผือกราคา 3 ล้านกว่าบาทสร้างสีสันในงาน

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *