ทีมวิจัยช่วยเหลือชาวบ้านให้สืบสานอาชีพปั้นหม้อ ที่มียาวนานมากว่า 200 ปี

ทีมวิจัยช่วยเหลือชาวบ้านให้สืบสานอาชีพปั้นหม้อ ที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

ชาวบ้านหม้อ หมู่ที่ 11 ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม อพยพมา 7 ครอบครัว จากจังหวัดนครราชสีมามาตั้งถิ่นฐานริมหนองเลิงเบ็ญ เพราะดินในหนองเหมาะสำหรับทำหม้อดินเผามากเพราะเหนียวและมีความยืดหยุ่นดี โดยได้นำภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านเครื่องปั้นดินเผาดั้งเดิมจากนครราชสีมามาประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นอาชีพช่างตีหม้อ เป็นเวลาเกือบ 200ปี  ปัจจุบันมีผู้ประกอบอาชีพช่างตีหม้อเหลือแค่ 15 หลังคาเรือน จาก 825 หลังคาเรือนประมาณ 1.8 % ซึ่งแต่ละครอบครัวมีกำลังการผลิตเผา 2 เตาต่อเดือนกำไรจากการขาย 10,000-12,000 บาทต่อเดือน

ผลิตภัณฑ์รูปแบบดั้งเดิม ได้แก่ หม้อหุง หม้อแกง หม้อนึ่ง และรูปแบบประยุกต์ ได้แก่ หม้อแอ่งน้ำ หม้อแกง หม้อหุง หม้อจุ้มจิ้มและทำตามลูกค้าสั่ง  ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่างรุ่นสุดท้ายและลูกหลานของแต่ละครอบครัวรวมทั้งสมาชิกในชุมชมไม่มีความต้องการสืบทอดภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผา  สาเหตุมากจากกระบวนการผลิตเป็นงานช่างฝีมือระดับสูงที่มีความละเอียด ยุ่งยากหลายขั้นตอนจากการนำดำขึ้นมาจากหนอง มาตากทิ้งไว้ น้ำเชื้อมาตำเพื่อผสมในดินไม่ให้หม้อแตก ตีหม้อขึ้นรูปจากนั้น นำปเผาด้วนฟืน ทำให้ปัญหาด้านกำไรจากการขายไม่คุ้มค่ากับการลงแรง การขาดแคลนวัตถุดิบต้องนำเข้าจากพื้นที่อื่น และต้องการวัสดุทดแทนวัตถุดิบที่ขาดแคลน เช่น แกลบ ดิน และฟืน

ทีมวิจัยช่วยเหลือชาวบ้านให้สืบสานอาชีพปั้นหม้อ ที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

สถานการณ์นี้ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม   ได้มองเห็นว่าชุมชนตีหม้อ นี้ต้องอยู่ต่อไปจึงได้ทำโครงการต่อลมหายใจให้ชุมชนคนตีหม้อ ต้องการให้ภูมิปัญญาการตีหม้ออยู่คู่กับชุมชนตลอดไป   นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อจังหวัดมหาสารคามให้เกิดมูลค่าสร้างรายได้แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนและในมิติคุณค่ากลายเป็นสมบัติของมวลมนุษชาติในฐานะของมรดกทางวัฒนธรรมของโลกได้  จะสำเร็จได้ยังต้องอาศัยพลังการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 5-10 ปี ข้างหน้า หรือมากกว่านี้ก็เป็นได้  ทีมนักวิจัยฯได้พัฒนาชุดโครงการฯ ประกอบด้วย 6 โครงการย่อย ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากหน่วยงานผู้ให้ทุนระดับประเทศจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.) นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อจังหวัดมหาสารคามให้เกิดมูลค่าสร้างรายได้แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนและในมิติคุณค่ากลายเป็นสมบัติของมวลมนุษชาติในฐานะของมรดกทางวัฒนธรรมของโลก

ทีมวิจัยช่วยเหลือชาวบ้านให้สืบสานอาชีพปั้นหม้อ ที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

อ.อิศรา กันแตง กล่าวว่า จากที่ลงมาดูงานปั้นหม้อของชุมชนบ้านหม้อนี้เป็นงานฝีมือ ที่ทรงคุณค่า เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เรียบง่าย เสี่ยงมากที่จะสูญหายต่อไปในอนาคต เราต้องมาช่วยกันรักษาไว้ แต่ต้องให้ชาวบ้านเขาสามารถเลี้ยตนเองให้อยู่ได้ แต่ต้องมีความเสี่ยงว่าจะเปลี่ยนรูปแบบยังไงเพื่อไม่ให้งานปั้นหม้อนี้ไม่หายไป เพราะงานนี้ไม่ใช้แค่อาชีพแต่เป็นวัฒนธรรม ที่สืบทอดต่อกันมา เราต้องอาศัยทีมวิจัยเพื่อมาช่วยเหลือไม่ให้ภูมิปัญญานี้หายไป

 

ทีมวิจัยช่วยเหลือชาวบ้านให้สืบสานอาชีพปั้นหม้อ ที่มีมายาวนานกว่า 200 ปีทีมวิจัยช่วยเหลือชาวบ้านให้สืบสานอาชีพปั้นหม้อ ที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *