ต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อสืบสานอาชีพที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

ต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อสืบสานอาชีพที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

ต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อสืบสานอาชีพที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

ต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อสืบสานอาชีพที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

ชาวบ้านหม้อ หมู่ที่ 11 ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม อพยพมา 7 ครอบครัว จากจังหวัดนครราชสีมามาตั้งถิ่นฐานริมหนองเลิงเบ็ญ  ก็มาพบว่าดินที่หนองเลิงเบ็ญเหมาะสำหรับทำหม้อดินเผามากเพราะเหนียวและมีความยืดหยุ่นดี โดยได้นำภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านเครื่องปั้นดินเผาดั้งเดิมจากนครราชสีมามาประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นอาชีพช่างตีหม้อ เป็นเวลาเกือบ 200ปี  วิถีชีวิตชุมชนบ้านหม้อมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นกึ่งเมืองและคาดว่าจะกลายเป็นสังคมเมืองอย่างสมบูรณ์ในอีก 5 – 10 ปี ข้างหน้า เพราะเป็นพื้นที่ติดกับเขตเทศบาลเมืองและอยู่ในแนวเขตการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองของกรมทางหลวง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบเชิงลบกับอาชีพช่างตีหม้อเรียกได้ว่าถึงขั้นวิกฤตและอาจจะสูญหายไป

ต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อสืบสานอาชีพที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

ต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อสืบสานอาชีพที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

ปัจจุบันมีผู้ประกอบอาชีพช่างตีหม้อเหลือแค่ 15 หลังคาเรือน จาก 825 หลังคาเรือนประมาณ 1.8 % ซึ่งแต่ละครอบครัวมีกำลังการผลิตเผา 2 เตาต่อเดือนกำไรจากการขาย 7,000-8,000 บาทต่อเดือน ผลิตภัณฑ์รูปแบบดั้งเดิม ได้แก่ หม้อหุง หม้อแกง หม้อนึ่ง และรูปแบบประยุกต์ ได้แก่ หม้อแอ่งน้ำ หม้อแกง หม้อหุง หม้อจุ้มจิ้มและทำตามลูกค้าสั่ง  ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่างรุ่นสุดท้ายและลูกหลานของแต่ละครอบครัวรวมทั้งสมาชิกในชุมชมไม่มีความต้องการสืบทอดภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผา  สาเหตุมากจากกระบวนการผลิตเป็นงานช่างฝีมือระดับสูงที่มีความละเอียด ยุ่งยากหลายขั้นตอนทำให้ ปัญหาด้านกำไรจากการขายไม่คุ้มค่ากับการลงแรง การขาดแคลนวัตถุดิบต้องนำเข้าจากพื้นที่อื่น และต้องการวัสดุทดแทนวัตถุดิบที่ขาดแคลน เช่น แกลบ ดิน และฟืน

ต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อสืบสานอาชีพที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

ดังนั้น สถานะการณ์เช่นนี้จึงอาจจะเรียกได้ว่าเป็น “ลมหายใจสุดท้ายของช่างตีหม้อ” รศ.ว่าที่พันตรี ดร.กิตติกรณ์  บำรุง คณบดีคณะมนุษย์สาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม   ได้มองเห็นว่าชุมชนตีหม้อ นี้ต้องอยู่ต่อไปจึงได้ทำโครงการต่อลมหายใจให้ชุมชนคนตีหม้อ ต้องการให้ภูมิปัญญาการตีหม้ออยู่คู่กับชุมชนตลอดไป   นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อจังหวัดมหาสารคามให้เกิดมูลค่าสร้างรายได้แก่เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนและในมิติคุณค่ากลายเป็นสมบัติของมวลมนุษชาติในฐานะของมรดกทางวัฒนธรรมของโลกได้  จะสำเร็จได้ยังต้องอาศัยพลังการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 5-10 ปี ข้างหน้า หรือมากกว่านี้ก็เป็นได้

ต่อลมหายใจสุดท้ายให้ชุมชนคนตีหม้อสืบสานอาชีพที่มีมายาวนานกว่า 200 ปี

 

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *