ชป ที่ 6 ใช้ประโยชน์สูงสุดจากน้ำท่วมค้างทุ่ง สำหรับใช้ในการทำนาหลังน้ำลด

สำนักงานชลประทานที่ 6 จัดโครงการต้นแบบการใช้ประโยชน์สูงสุดจากน้ำท่วมค้างทุ่ง สำหรับใช้ในการทำนาหลังน้ำลด
สำนักงานชลประทานที่ 6 ขานรับนโยบาย อธิบดีกรมชลประทาน จัดโครงการต้นแบบการใช้ประโยชน์สูงสุดจากน้ำท่วมค้างทุ่ง สำหรับใช้ในการทำนาหลังน้ำลด
สำนักงานชลประทานที่ 6 จัดโครงการต้นแบบการใช้ประโยชน์สูงสุดจากน้ำท่วมค้างทุ่ง สำหรับใช้ในการทำนาหลังน้ำลด
ที่แปลงนา คลองสาย MC กิโลเมตรที่ 1+845 สถานีสูบน้ำเขื่อนวังยาง บ้านกุดเวียน ตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายทรงวุฒิ เดชวิชิตชัย เกษตรและสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการต้นแบบการใช้ประโยชน์สูงสุดจากน้ำท่วมค้างทุ่ง สำหรับใช้ในการทำนาหลังน้ำลด โดยมี นายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลาง ส่วนราชการต่างๆ และพี่น้องเกษตรกรร่วมโครงการต้นแบบการใช้ประโยชน์สูงสุดจากน้ำค้างทุ่งในวันนี้
สำนักงานชลประทานที่ 6 จัดโครงการต้นแบบการใช้ประโยชน์สูงสุดจากน้ำท่วมค้างทุ่ง สำหรับใช้ในการทำนาหลังน้ำลด
สืบเนื่องจากในฤดูฝน ปี 2564 ที่ผ่านมา ได้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ 2 ฝั่งลำน้ำชี กรมชลประทาน โดยอธิบดีกรมชลประทาน นายประพิศ จันทร์มา ได้ให้ความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาจากการเกิดอุทกภัยในฤดูฝน ปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะนาข้าว จึงจัดทำแปลงต้นแบบการทำนาโดยใช้น้ำค้างทุ่งที่เหลือจากการท่วมขังในฤดูน้ำหลาก มาใช้ในการเตรียมแปลงสำหรับการเพาะปลูกข้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้น้ำค้างทุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโดยเปล่าประโยชน์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำด้วยไฟฟ้ามาใช้ในการเตรียมแปลงเพาะปลูก ลดต้นทุนในการไถเตรียมแปลงโดยการไถพรวนเพียงครั้งเดียว และเพื่อใช้เป็นแปลงต้นแบบเพื่อให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยได้ศึกษาเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองต่อไป
สำนักงานชลประทานที่ 6 จัดโครงการต้นแบบการใช้ประโยชน์สูงสุดจากน้ำท่วมค้างทุ่ง สำหรับใช้ในการทำนาหลังน้ำลด
การดำเนินการในครั้งนี้ได้คัดเลือกพื้นที่ที่รับน้ำจากคลองสาย MC กิโลเมตรที่ 1+845 สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเขื่อนวังยาง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชีกลางบริเวณบ้านกุดเวียน ตำบลท่าตูม อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยในฤดูฝน ปี 2564 ที่ผ่านมา เป็นพื้นที่ต้นแบบ รวมพื้นที่ 923 ไร่ แบ่งเป็น ตำบลท่าตูม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 323 ไร่ ตำบลม่วงลาด อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด อีก 600 ไร่ โดยให้แปลงนาที่อยู่สูงกว่าเตรียมแปลงและหว่านข้าวก่อน หลังจากนั้นก็ปล่อยน้ำให้แปลงที่อยู่ต่ำกว่าและไล่น้ำลดหลั่นกันลงไป เมื่อใช้น้ำค้างทุ่งหมดแล้วจึงใช้น้ำจากระบบชลประทานต่อไป

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *