วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามจัดงานบุญผะเหวด เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก
ที่วัดอภิสิทธิ์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับศพอ.หน่วยเผยแพร่ศีลธรรม เครือข่ายกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน 2565 โดย พระเทพสิทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ทั้งนี้มีนายชูชาติ ราชจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วม
โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร พิธีอัญเชิญพระอุปคุต และอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง(แห่ผ้าผะเหวด) พิธีแห่ข้าวพันก้อน และกิจกรรมเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ จะได้ไปเกิดในสมัยพระศรีอาริยเมตไตรอันเป็นยุคอุดมสุขพร้อมทั้งอุทิศส่วน กุศลให้ปู่ย่าตายายผู้ล่วงลับจัดขนมจีนเลี้ยงญาติมิตร การทำบุญผะเหวด”พระเวสๆ มาจากพระ เวสสันดร หรือบุญมหาชาติหรือชาวบ้านเรียกว่าบุญประจำปี กำหนด 2 วัน คือวันรวม(โฮม) ประดับด้วยธง ธง) รูปสัตว์ต่างและ ดอกไม้แห้ง เช่นดอก แสบง ลูกยางใหญ่ รวงผึ้ง รังต่อ รังแตน รอบศาลาวัดอย่างสวยงาม และมีการแห่ผ้า ผะเหวด หรือพระเวสสันดร ที่ใช้ผ้า ขาวประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 100 เมตร วาดรูปเรื่องราวพระเวสสันดร ทั้งสิบชาติ และชาติ ตลอดทั้งได้ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนนําแนวคิด ที่สอดแทรกด้วยหลักธรรมจากมหาเวสสันดรชาดกมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เห็นคุณค่าวัฒนธรรมและ ประเพณีที่ดีงาม และเพื่อนําเงินที่ได้รับบริจาคจัดตั้งกองทุนส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
ประชาชนในท้องถิ่นได้สืบทอดการอนุรักษ์ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา มาแต่โบราณ มีการจัดทำบุญผะเหวด ปีละหนึ่งครั้ง ระหว่างเดือน 3 หรือเดือน 4 ไปจนถึงกลางเดือน 5 โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกกันว่า “วันโฮมบุญ” พุทธศาสนิกชนจะมาช่วยกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตกแต่งศาลา หรือสถานที่ที่จะทำบุญ มีการจัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็ก ๆ เป็นที่เก็บข้าวกัน และเครื่องคาวหวาน สำหรับผีเปรต และมาร รอบๆ ศาลาการเปรียญ มีการแขวนผ้าที่เรียกกันว่าผ้า “ผะเหวด” ที่เป็นการ
เล่าเรื่องราวของพระเวสสันดร ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันมาแต่โบราณแล้วว่าเคยเป็นอดีตชาติของ “พระพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นชาติสุดท้ายก่อนที่จะมาประสูติเป็น “พระพุทธเจ้า” ตามความเชื่อที่ได้รับรู้ต่อ ๆ กันมาเรื่องราวบนผ้า “ผะเหวด “ เป็นการ เล่าเรื่องราวทั้งสิ้น “สิบสามตอน “ หรือที่เรียกกันว่า ”กัณฑ์” คือมีตั้งแต่กัณฑ์ที่ 1 ถึงกัณฑ์ที่ 13 ที่บอกเล่าเรื่องราวของพระเวสสันดร ในการจัดงานประเพณี “บุญผะเหวด” เทศน์มหาชาติ